สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ

Bachelor of Engineering Program in Mechatronics and Smart Technology Engineering

Previous slide
Next slide

รับทราบหลักสูตรจาก สป.อว.

หลักสูตรได้รับพิจารณาความสอดคล้องวันที่ 09/03/2567

นักศึกษา ปกติ 4 ปี

จบการศึกษาจาก ม.6 / ปวช. ในสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

นักศึกษา เทียบโอน 2.5 ปี

จบการศึกษาจาก ปวส. ในสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

นักศึกษาห้องเรียนอัจฉริยะ (สมทบ) 2.5 ปี

จบการศึกษาจาก ปวส. ในสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ โดยได้รับทุนการศึกษาจากสถานประกอบการที่ทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย

รองรับการเทียบโอนประสบการณ์

สำหรับนักศึกษาห้องเทียบโอน และห้องเรียนอัจฉริยะ

รองรับการกู้ กยศ.

สำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สามารถชำระค่าบำรุงการศึกษาได้ 100%

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

133 หน่วยกิต

อัตราค่าบำรุงการศึกษา

  • ภาคเรียนปกติ 13,700 บาท
  • ภาคเรียนฤดูร้อน 6,575 บาท
  • ภาคเรียนปกติ 23,375 บาท
  • ภาคเรียนฤดูร้อน 10,650 บาท

ทำความรู้จักหลักสูตร วศ.บ. วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ

          สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ เป็นสาขาวิชาสหวิทยาการโดยมีการบูรณาการองค์ความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมหลายแขนง ซึ่งตอบโจทย์ต่อภาคอุตสาหกรรมและการทำงานในโลกยุคปัจจุบัน ผู้สำเร็จการศึกษามีอาชีพรองรับเนื่องจากสอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศและอุตสาหกรรมใหม่ โดยมี 5 องค์ความรู้หลัก ดังนี้

  1. องค์ความรู้ทางไฟฟ้า  ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบวงจรไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ตลอดจนระบบพีแอลซี และการควบคุม
  2. องค์ความรู้ทางเครื่องกล  ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องจักรกล ระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิกส์ และการสร้างเครื่องต้นแบบ
  3. องค์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์  ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมสำหรับการควบคุมอัตโนมัติ การประมวลผลภาพ หุ่นยนต์ รวมถึงปัญญาประดิษฐ์
  4. องค์ความรู้ทางโทรคมนาคม  ศึกษาเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของเครื่องจักร โปรโตคอล และระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
  5. องค์ความรู้ทางการจัดการ  ศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนการผลิต เศรษศาสตร์วิศวกรรม  การวางแผนทรัพย์กรขององค์กร รวมถึงการเป็นผู้ประกอบการ

จุดเด่นของหลักสูตร วศ.บ. วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ

           หลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Mechatronics and Smart Technology Engineering) เป็นหลักสูตรที่เน้นการรวมกลไก ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์หรือระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูง และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูง โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถเข้ากับโลกเราได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งานจริงในอุตสาหกรรม นอกจากความสำคัญทางอุตสาหกรรมแล้ว หลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยีอัจฉริยะยังมีข้อดีอีกมากมายที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้เรียนได้ ดังนี้

  1. โอกาสในการทำงานกับเทคโนโลยีอัจฉริยะ หลักสูตรนี้จะให้โอกาสในการฝึกปฏิบัติและทำงานกับเทคโนโลยีอัจฉริยะอย่างเช่น หุ่นยนต์อัตโนมัติ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบจัดการข้อมูลและประมวลผล ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องการในอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

  2. มีโอกาสทำงานกับหลายสาขาอุตสาหกรรม หลักสูตรนี้จะช่วยเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการทำงานในหลายสาขาอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ อาหาร สื่อสาร โทรคมนาคม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการหางานในอนาคต

  3. ตำแหน่งงานที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญในวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ หลักสูตรนี้เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับตำแหน่งงานที่สูงขึ้น และเงินเดือนที่มากขึ้น

เรียนจบวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ฯ สามารถทำงานอะไรได้บ้าง

          หลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ เป็นการผสมผสานหลากหลายสาขาวิชา ทำให้ผู้ที่จบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในหลากหลายสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและระบบอัตโนมัติ โดยอาชีพที่สามารถทำได้มีดังนี้

  1. วิศวกรเมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineer) – ออกแบบและพัฒนาระบบที่ประกอบด้วยเครื่องกล, อิเล็กทรอนิกส์, และซอฟต์แวร์ เช่น หุ่นยนต์, เครื่องจักรอัตโนมัติในอุตสาหกรรม
  2. วิศวกรหุ่นยนต์ (Robotics Engineer) – ทำงานในการออกแบบ, พัฒนา, และควบคุมระบบหุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต, การแพทย์, หรือด้านอื่น ๆ
  3. วิศวกรระบบควบคุม (Control Systems Engineer) – ออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การควบคุมเครื่องจักร, ระบบอัตโนมัติในโรงงาน
  4. ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัตโนมัติ (Automation Specialist) – ดูแลและพัฒนาระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
  5. วิศวกรซอฟต์แวร์ฝังตัว (Embedded Systems Engineer) – พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ในระบบฝังตัว เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า, ยานพาหนะ, หรืออุปกรณ์ IoT
  6. นักพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Technology Developer) – ทำงานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น IoT, AI, และ Machine Learning เพื่อนำมาใช้ในด้านการผลิตหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์
  7. ผู้จัดการโครงการเทคโนโลยี (Technology Project Manager) – วางแผนและบริหารโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีอัจฉริยะ
  8. ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำรุงรักษาระบบอัตโนมัติ (Automation Maintenance Specialist) – ดูแลและบำรุงรักษาระบบเครื่องจักรอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
  9. วิศวกรพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development Engineer) – ทำงานในกระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอัจฉริยะและระบบอัตโนมัติ

          การทำงานในสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยีอัจฉริยะมีความหลากหลาย และเปิดโอกาสให้กับการทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่เน้นนวัตกรรม

 

หลักสูตร วศ.บ. วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยีอัจฉริยะเรียนอะไรบ้าง

ภาคการศึกษาที่ 1

Calculus 1


Physics 1


Physics Laboratory 1


Basic Engineering Skill Training


Engineering Drawing


Introduction to Programming and Problem Solving


Communicative English in Everyday Life

ภาคการศึกษาที่ 2

Data Science of Things


Thai for Communication


Calculus 2


Science, Technology and Innovation for Community


Electrical Circuit and Industrial Instruments


Engineering Mechanics for Mechatronics Engineering


Mechathon 1: Problem Identification and Planning

ภาคการศึกษาที่ 1

Digital Skills


Mathematics for Mechatronics Engineering


Engineering Economics


PLC and Sensors for Industry


Electronic Device and Circuit Design


Mechanics of Materials for Mechatronics Engineering

ภาคการศึกษาที่ 2

Health and Digital Society


Production Planning and Control


Automatic Control Systems


Embedded System Design


Robotics in Smart Industry


Pneumatics and Hydraulics


Mechathon 2: Design and Problem Solving

ภาคการศึกษาที่ 1

Power Electronics and Motor Drives


Machine Communication and Internet of Things


Computer-aided Design and Applications for Mechatronics Engineering


Mechanics of Machinery


Programming for Artificial Intelligence


Graphical Program for Control System

ภาคการศึกษาที่ 2

Thinking Skills Construction through Research Methodology


Computer-aided Manufacturing for Mechatronics Engineering


Electrical Machine Laboratory


Image Processing and Machine Learning


Mechathon 3: Prototyping and Testing


Mechatronics Engineering and Smart Technology Pre-Project


Electric Motor Drives


Adaptive Control

ภาคการศึกษาที่ 1

Entrepreneurship


Preparation for Professional Experience


Enterprise Resource Planning


Mechatronics Engineering and


Smart Technology Project


Robot Operating System


Software Tools for Mechatronics Engineering


English for Professionals

ภาคการศึกษาที่ 2
Entrepreneurship
Preparation for Professional Experience
Enterprise Resource Planning
Mechatronics Engineering and Smart Technology Project
Robot Operating System
Software Tools for Mechatronics Engineering
English for Professionals